สอบถามข้อมูล LINE: @bookplus เพิ่มเพื่อน

ถึงแม้ว่าหนังสือจะมีหลายประเภท แต่ส่วนประกอบของหนังสือ ก็จะเรียงลำดับเหมือนกัน คือ หน้าปก คำนำ สารบัญ และส่วนของเนื้อหาต่าง ๆ แต่ทั้งนี้หนังสือบางเล่ม อาจจะพบส่วนประกอบของหนังสือ ที่มีมากกว่าส่วนประกอบที่เราคุณเคย เช่น กิติกรรมประกาศ คำนิยม บรรณานุกรรม ดัชนี เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่องค์ประกอบต่าง ๆ ที่เพิ่มมานี้จะเป็นหนังสือทางวิชาการ นอกจากนี้องค์ประกอบหลักของหนังสือก็ยังมีอีกมากมาย ดังนั้น ในบทความนี้เราก็จะพาทุกคน มาทำความเข้าใจกับองค์ประกอบหลักของหนังสือ ว่ามีอะไรบ้าง เพื่อเป็นตัวช่วยสำหรับนักเขียนที่จะเริ่มเขียนหนังสือประเภทต่าง ๆ กันค่ะ

มาทำความเข้าใจกับองค์ประกอบหลักของหนังสือ ว่ามีอะไรบ้าง

1. หน้าปก โดยพื้นฐานองค์ระกอบของหน้าปก  จะประกอบไปด้วย ชื่อหนังสือ, ชื่อผู้เขียน, ภาพประกอบปก, ตราสัญญาลักษณ์ของสำนักพิมพ์ หรือหน่วยงาน

2. ปกใน เป็นส่วนรายละเอียดของบรรณานุกรมของหนังสือที่ครบถ้วนที่สุด ซึ่งจะประกอบไปด้วย ชื่อหนังสือ, ชื่อผู้เขียน, ตราสัญญาลักษณ์ของสำนักพิมพ์ หรือหน่วยงาน, ครั้งที่พิมพ์, สถานที่พิมพ์, สำนักพิมพ์ และปีที่พิมพ์

3. หน้าลิขสิทธิ์ จะมีเลขประจำหนังสือ หรือ ISBN ซึ่งจะเป็นเลขสำหรับบาร์โค้ด ในการจำหน่าย และการค้นหาหนังสือของเรา รวมถึงการระบุการจัดทำข้อมูลบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์ หรือ CiP คือ การกำหนดข้อมูลให้รายละเอียดรายการทางบรรณานุกรม เลขหมู่หนังสือ หัวเรื่อง ก่อนที่จะจัดพิมพ์หนังสือนั้น ซึ่งจะพิมพ์ไว้ด้านหลังหน้าปกในของหนังสือ

4. คำนำ คือส่วนเริ่มต้นที่นักเขียนจะได้สื่อสารเป็นครั้งแรกกับผู้อ่าน โดยส่วนใหญ่คำนำจะเป็นการอธิบายภาพรวมของหนังสือ ตำรา มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร? หนังสือมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับอะไร? หนังสือเหมาะสมกับกลุ่มไหนที่จะอ่าน?

5. กิติกรรมประกาศ (ถ้ามี) คือ ส่วนที่ผู้เขียนจะได้กล่าวคำขอบคุณหรือให้เครดิตต่าง ๆ สำหรับผู้ที่มีอุปการคุณกับหนังสือ ตำรา เล่มนี้ ในส่วนนี้จะมีหรือไม่มีก็ได้

6. คำนิยม (ถ้ามี) คือ ส่วนประกอบหนึ่งในหนังสือ ตำรา ที่ผู้เขียนหรือสำนักพิมพ์ จะขอความกรุณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ หรือเป็นบุคคลที่ผู้เขียนเคารพนับถือ จึงได้ให้ความกรุณาเขียนคำนิยม เพื่อสรุปประเด็นของหนังสือ หรือกล่าวแนะนำหนังสือเล่มนี้ ตลอดจนการให้การชื่นชมกับผู้เขียนที่ได้เขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา ในส่วนนี้จะมีหรือไม่มีก็ได้

7. สารบัญ เป็นส่วนสำคัญมากที่จะทำให้ผู้อ่านสามารถเลือกอ่านตามเรื่องที่ต้องการได้ และยังช่วยให้ผู้อ่านสามารถตัดสินใจได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นที่จะซื้อหนังสือ ตำรา เล่มนี้ไปอ่านดีหรือไม่ ส่วนของสารบัญจะต้องประกอบไปด้วย ชื่อบทต่าง ๆ แต่นักเขียนควรใส่รายละเอียดหัวข้อย่อยในแต่ละบทลงไปโดยไม่ควรเกิน 2 หัวข้อย่อย

8. ตัวย่อ และสัญญาลักษณ์ / อภิธานศัพท์ (ถ้ามี) เป็นส่วนที่จะระบุให้ผู้อ่านเข้าใจตัวย่อ และสัญญาลักษณ์ต่าง ๆ ในหนังสือ ตำรา โดยส่วนมากเราจะพบตัวย่อ และสัญญาลักษณ์ / อภิธานศัพท์ ในหนังสือตำราเฉพาะทาง ที่จะมีตัวย่อ และสัญญาลักษณ์ คำศัพท์ที่ใช้เรียกกันเป็นประจำในสาขานั้น ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้อ่าน ผู้เรียน

9. เนื้อหา เป็นส่วนสำคัญของหนังสือ ตำรา เรียกว่าเป็นหัวใจหลักของหนังสือก็ว่าได้ที่จะสื่อสาร สาระสำคัญ องค์ความรู้ต่าง ๆ จากผู้เขียนผ่านตัวอักษร ไปยังผู้อ่านผู้เรียน ที่จะใช้ในการสร้างการเรียนรู้ และทบทวนความรู้ต่าง ๆ โดยองค์ประกอบย่อย ๆ ของ หนังสือ ตำรา ถ้าในเชิงวิชาการก็จะประกอบไปด้วย

  • ตำรา เป็นการอธิบายหรือการวิเคราะห์ การสรุป ทั้งนี้ควรมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ทันสมัย และครบถ้วนสมบูรณ์การอธิบายสาระสำคัญมีความชัดเจน จนผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจในสาระสำคัญนั้นได้
  • หนังสือ มีเนื้อหามีความทันสมัย และครบถ้วนสมบูรณ์ โดยอาจมีข้อมูล แผนภาพ ตัวอย่าง หรือกรณีศึกษาประกอบด้วยก็ได้ ตามรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่ง

10. เอกสารอ้างอิง / บรรณานุกรม เป็นส่วนสำคัญที่สำคัญของการเขียนงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารทางวิชาการ หนังสือ ตำรา รายงานการวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะปรากฏอยู่ท้ายเล่มของผลงานที่เป็นแหล่งรวบรวบรายการข้อมูลที่งานเขียนนั้น ๆ ได้อ้างอิงถึง นอกจากนี้ยังทำให้ผู้อ่านสามารถค้นหา และสืบค้นเพิ่มเติมได้อีกด้วย

11. ภาคผนวก เป็นส่วนท้ายที่เพิ่มเติมเข้ามา เนื่องจากอาจจะมีเนื้อหามากเกินกว่าที่จะเอาไปไว้ในเนื้อหา ซึ่งจะพบในหนังสือที่มีการยกตัวอย่างกรณีศึกษา ผลการทดลอง สถิติ หรือหลักฐานต่าง ๆ

12. ดัชนี หรือ ดรรชนี หรือบัญชีค้นคำ เป็นการนำหัวข้อย่อย ๆ หรือคำสำคัญ ที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง มาจัดเรียงตามลำดับอักษร ซึ่งจะทำให้ผู้ผ่านนั้นสามารถหาคำสำคัญหรือหัวข้อสำคัญในหนังสือเล่มนี้ได้

13. ประวัตินักเขียน จะประกอบไปด้วย ชื่อผู้เขียน ภาพถ่ายผู้เขียน สถานที่ทำงาน ประวัติการศึกษา และสาขาวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญ โดยส่วนใหญ่ก็จะพบในหนังสือทางวิชาการ เพื่อจะทำให้ผู้อ่านทราบถึงประสบการณ์ และความเขี่ยวชาญของนักเขียน หรืออาจจะเคยไปพบผลงานของนักเขียนในงานต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน

14. ปกหลัง คือ คำโปรย เป็นคำอธิบายแบบสั้น ๆ หลังปกหนังสือ ตำรา ที่เราจะสื่อสารได้อย่างชัดเจนกับผู้ที่พบเห็น และกำลังจะตัดสินใจซื้อ ซึ่งคำโปรยนั้นจะต้องสื่อสารแบบกระชับ และเข้าใจได้ง่ายที่สุด ส่วนประกอบท้ายเล่มอีกอย่างที่สำคัญ คือ การใส่ Barcode ISBN และราคาที่ไว้ใช้สำหรับการจำหน่าย ซึ่งนิยมใส่กันในส่วนท้ายเล่มด้านล่าง

15. สันหนังสือ มีความสำคัญอย่างมาก ทั้งด้านการจำหน่าย และการค้นหา โดยสันหนังสือ จะประกอบไปด้วย ตราสัญญาลักษณ์สำนักพิมพ์, ชื่อเรื่อง, ชื่อผู้แต่ง, ราคา, หรือส่วนต่าง ๆ ตามมาตราฐานของสำนักพิมพ์นั้น ๆ

สรุป

สำหรับใครที่ต้องการจะเขียนหนังเป็นของตัวเอง การทำความเข้าใจกับองค์ประกอบหลักของหนังสือก่อนเริ่มการเขียน จะช่วยทำให้คุณมองเห็นภาพรวมได้คร่าว ๆ ว่าในหนังสือ 1 เล่มต้องมีอะไรบ้าง และเมื่อเขียนเสร็จแล้ว ก็จะทำให้คุณสามารถเรียงลำดับส่วนประกอบของหนังสือได้อย่างถูก และทำให้ง่ายขึ้นต่อการจัดทำหนังสือกับทางโรงพิมพ์ได้อีกด้วย และสำหรับท่านใดที่สนใจอยากทำหนังสือ บริษัท บุ๊คพลัส พับลิชชิ่ง จำกัด เรายินดีให้บริการออกแบบ และผลิตหนังสือ ทุกแบบ ทุกประเภท โดยไม่มีจำนวนจำกัด เรามีทีมกราฟิกที่จะช่วยออกแบบได้ตามที่คุณต้องการ และเรายังมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านงานพิมพ์หนังสือ พร้อมด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ที่ทันสมัย รับประกันงานพิมพ์คุณภาพ และการบริการที่รวดเร็ว

เกี่ยวกับ Bookplus

บริษัท บุ๊คพลัส พับลิชชิ่ง จำกัด จัดตั้งขึ้นปี พ.ศ. 2548 รับออกแบบและพิมพ์งานพิมพ์ระบบออฟเซ็ท และระบบดิจิตอล จัดตั้งขึ้นเพื่อบริการและตอบสนองความต้องการของลูกค้าในด้านของงานพิมพ์ (Print On Demand) แบบ One Stop Service โดยทีมงานที่มีประสบการณ์ ด้วยเครื่องจักรและเทคโนโลยีการพิมพ์ระดับสูง บริการรวดเร็วและตรงต่อเวลา