สอบถามข้อมูล LINE: @bookplus เพิ่มเพื่อน

ที่มา : freepik.com

เมนูอาหารถือเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะขาดไม่ได้สำหรับธุรกิจร้านอาหาร ยิ่งเมนูอาหารดูน่าสนใจและสวยงาม ก็ยิ่งดึงดูดลูกค้าได้มากขึ้น สำหรับการสั่งพิมพ์เมนูอาหารกับทางโรงพิมพ์ จำเป็นจะต้องมีการเตรียมไฟล์งานเมนูอาหารตามขั้นตอนที่ถูกต้อง เพื่อที่ทางโรงพิมพ์จะสามารถจัดพิมพ์เมนูอาหารได้ตรงตามความต้องการ และเพื่อกันไม่ให้เกิดการผิดพลาดหรือความเสียหายกับงานพิมพ์เมนูอาหาร

สำหรับขั้นตอนในการเตรียมไฟล์งานเมนูอาหารส่งให้โรงพิมพ์จะมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ดังนี้

  1. ตั้งค่าสีไฟล์งานให้เป็น CMYK

ก่อนส่งไฟล์งานให้โรงพิมพ์ ควรตั้งค่าสีไฟล์งานให้อยู่ในโหมด CMYK เพราะเมื่อพิมพ์ออกมาแล้ว สีของงานพิมพ์ที่ได้เปรียบเทียบกับสีของไฟล์งานพิมพ์ในจอจะตรงกัน ไม่ผิดเพี้ยน

ที่มา : pixabay.com

  1. ตั้งค่าความละเอียดของไฟล์งานไว้ที่ 300 dpi (File Resolution)

ตั้งค่าความละเอียดของไฟล์งานไว้ที่ 300 dpi และหากต้องการให้สามารถปรับย่อขยายได้โดยที่ความละเอียดของไฟล์งานไม่แตก ควรใช้โปรแกรม Adobe Illustrator และ save งานเป็นไฟล์ AI เพื่อให้สะดวกกับโรงพิมพ์ในการส่งพิมพ์ และหากต้องการปรับแก้ไขก่อนที่จะส่งผลิตก็สามารถทำได้

ที่มา : http://www.artwallpaperhi.com/Illustrations/illustrations/adobe_adobe_illustrator_1920x1200_wallpaper_33461

  1. จัดระยะขอบและระยะตัดตกก่อนส่งไฟล์งานให้โรงพิมพ์ (Margin & Bleed)

ระยะขอบ : การวางตัวหนังสือหรือรูปในไฟล์งาน ควรวางไว้ใน save zone เพื่อกันไม่ให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการตัดชิ้นงาน โดยเว้นระยะขอบเข้ามาด้านใน (Artboard) ให้ห่างประมาณ 3 – 4 มม.

ระยะตัดตก : ควรเผื่อพื้นหลัง (Background) ของงานให้ใหญ่กว่า Artboard ประมาณ 3 – 4 มม. เพื่อกันไม่ให้มีขอบขาวหลังการพิมพ์ และกันไม่ให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการตัดชิ้นงาน

ที่มา : https://helpx.adobe.com/indesign/how-to/set-print-bleed.html

  1. เปลี่ยนตัวอักษร (Font) ให้เป็น Graphic (Create Outline & Convert to Shape)

ก่อนจะส่งไฟล์งานให้โรงพิมพ์ หากไฟล์งานนั้นมีตัวอักษร (Font) ควรเปลี่ยนตัวอักษรให้เป็น วัตถุ (Object) เพื่อไม่ให้ตัวอักษรเพี้ยน และควรจำไว้ว่า หากเปลี่ยนตัวอักษรแล้วจะไม่สามารถกลับมาแก้ไขได้อีก สำหรับโปรแกรม Photoshop คำสั่งในการเปลี่ยนคือ Convert to Shape แต่หากเป็นโปรแกรม Illustrator คำสั่งในการเปลี่ยนจะเป็น Create Outline

ที่มา : https://anantsiri.com/2018/03/13/create-outline/

  1. ฝังไฟล์รูปภาพ (Include Linked Files)

การฝังไฟล์รูปภาพเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหารูปสูญหายในกรณีที่ไม่ได้แนบไฟล์รูปภาพไปด้วย แต่การฝังไฟล์จะเหมาะกับไฟล์งานเล็กๆ เท่านั้น หากเป็นไฟล์งานใหญ่ควรแนบไฟล์รูปภาพเพิ่มไปด้วย เพราะการฝังไฟล์ในไฟล์งานใหญ่ๆ จะทำให้ไฟล์นั้นหนักเกินไป

ที่มา : ฝ่ายกราฟฟิกทำภาพให้